เรื่อง PHP
PHP ย่อมาจาก PHP Hypertext Preprocessor แต่เดิมย่อมาจาก Personal Home Page Tools
PHP คือภาษาคอมพิวเตอร์จำพวก scripting language ภาษาจำพวกนี้คำสั่งต่างๆจะเก็บอยู่ในไฟล์ที่เรียกว่า script และเวลาใช้งานต้องอาศัยตัวแปรชุดคำสั่ง ตัวอย่างของภาษาสคริปก็เช่นJavaScript , Perl เป็นต้น ลักษณะของ PHP ที่แตกต่างจากภาษาสคริปต์แบบอื่นๆ คือ PHP ได้รับการพัฒนาและออกแบบมา เพื่อใช้งานในการสร้างเอกสารแบบ HTML โดยสามารถสอดแทรกหรือแก้ไขเนื้อหาได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นจึงกล่าวว่า PHP เป็นภาษาที่เรียกว่า server-side หรือ HTML-embedded scripting language นั้นคือในทุกๆ ครั้งก่อนที่เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการเป็นWeb server จะส่งหน้าเว็บเพจที่เขียนด้วย PHP
-สัญลักษณ์ที่ใช้ประกาศตัวแปรทุกตัวแปรทุกชนิด คือ “$” แล้วตามด้วยชื่อตัวแปร เช่น$name $num $potato123 เป็นต้น
-การเขียนโค้ดและการทำงานต่างๆ คล้ายๆกับ javascript แต่ php เป็นฝั่งของ server
-การประกาศชื่อตัวแปรตัวเล็กตัวใหญ่ จะเป็นคนละตัวแปรกัน
-การแสดงข้อความต่างๆ จะใช้คำสั่งว่า print
-แท็กที่บอกว่าโค้ดนี้คือ php คือ <?php……………….?>
-สามารถ converting ข้อมูลได้ เช่น 3.5 เมื่อแปลงเป็น interger จะได้ 3 และสามารถcasting กลายเป็น 3.5 ได้
- ประกาศค่าคงที่โดยใช้คำสั่ง define เช่น define(“VALUE” , 5);
-key word ที่ไม่สามารถนำเอาไปตั้งเป็นชื่อตัวแปรได้ คือ
-สามารถเปรียบเทียบ string ได้ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ โดยเรียงเหมือนกับพจนานุกรม A-Z และ ก-ฮ(สำคัญเรียงจากน้อยไปมาก) คำสั่งที่ใช้คือ strcmp
-สามารถค้นหาคำต่างๆ ได้ เช่น ค้นหาตัวอักษรตัวแรกและตัวสุดท้ายของคำได้ ค้นหาคำแรกและคำสุดท้ายของประโยคได้ คำสั่งที่ใช้ คือ preg_match
-เช็คฟอร์มที่กรอกได้ว่า ผู้ใช้กรอกเป็นไปตามแบบที่เรากำหนดได้หรือไม่ โดยกรอกจากฟอร์ม .html เมื่อกดsubmit แล้ว ฟอร์มที่ถูกกรอก จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับ .php ว่ากรอกถูกต้องตามแบบฟอร์มหรือไม่
-สามารถ query ข้อมูลจาก database ได้ หลังจาก สร้าง database และ import ไฟล์ .sql เข้าไปแล้ว โดยสามารถเรียกได้ตาม field ที่ต้องการจะเลือก หรือจะดูข้อมูล field ทั้งหมดก็ได้
-cookies คือการจำ username หรือ password เวลาที่เรา login เข้าเว็บต่างๆ มันจะถามว่าเราต้องการที่จะจำหรือไม่ หากเราเลือกที่จะให้จำ มันจะสร้าง cookies ไว้เพื่อเก็บ username และ password ไว้ในเครื่องนั้นๆ
ชนิดของตัวแปร (Vriable Types) มีตังต่อนี้
1. Array ชุดของข้อมูลที่เป็นชนิดเดียวกัน
2. Boolean ข้อมูลชนิดตรรกะจะให้ผลลัพธ์เป็นจริง (True) หรือ (False) เท่านั้น
3. Float เป็นข้อมูลชนิดตัวเลขจำนวนจริง เช่น 1.2 ,22.22 , 7A-20
4. Integer (int) เลขจำนวนเต็มที่เป็นฐานสิบ ฐานแปด หรือฐานสิบหก โดยจะมีเครื่องหมายบวก + หรือ ลบ - ประกอบอยู่ด้วยก็ได
- เลขฐานสิบ แทนด้วยเลข 0-9 เช่น 1 ,12 , -24 ,+15 เป็นต้น
- เลขฐานแปด แทนด้วยเลย 0-8 โดยจะต้องมี 0 นำหน้าเสมอ เช่น 0123 (เท่ากับ 83 ในฐานสิบ)
- เลขฐานสิบหก แทนด้วย 0-9 และ A-F โดยจะต้องใช้ 0x นำหน้าเสมอ เช่น 0x1A (เท่ากับ 26 ในเลขฐานสิบ)
5. Object การกำหนดให้ตัวแปรนั้นเก็บคุณสมบัติของออบเจ็กต์ไว้ (ซึ่งก็คือ Attribute และ Method)โดยใช้ชื่อคลาสเป็นตัวกำหนด
6. String ตัวอักษรต้องอยู่ภายใต้เครื่องหมาย Double Quotes (" ") หรือ Single Quotes (' ')
7 Object สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่เป็น Class Object หรือเป็น Method